วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) และนายโยชิฮิโระ ซากานูชิ ประธานกรรมการบริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จำกัด ร่วมลงนามบันทึก ความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือเพื่อผลักดันเทคโนโลยีพลังงานอัจฉริยะ ระหว่าง กฟผ. และ บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จำกัด โดยมี ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัยนายโยชิฮิสะ ไคนูมะ ประธาน กรรมการบริหารกลุ่มบริษัทมินีแบมิตซูมิ น.ส.นพวรรณ กาญจนะวรรณ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. นายทิเดช เอี่ยมสาย รอง ผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน กฟผ. น.ส.สุนี เชิดชูชาติ กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จำกัด และนายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ร่วม ให้เกียรติในพิธี ณ โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพ ฯ
น.ส.นพวรรณ กาญจนะวรรณ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. เผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการร่วมกันพัฒนา Smart Energy Solutions บนพื้นที่ Smart Campus ด้วยการบูรณาการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บ พลังงาน ระบบ Smart Street Light และระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Energy Management System) ของ กฟผ. หรือ ENZY Energy Management Platform ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ ยกระดับการใช้พลังงานสะอาด ลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของประเทศไทยและ กฟผ.
นายโยชิฮิสะ ไคนูมะ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทมินีแบมิตซูมิ กล่าวเสริมว่า ถือเป็นความยินดีอย่างยิ่งที่ระบบแสงสว่าง อัจฉริยะ (Smart street light) ซึ่งผลิตในประเทศไทยโดยพนักงานของบริษัทได้ใช้งานในประเทศไทย โดยความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ขยายขอบเขตความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานและเมืองอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด ขับเคลื่อนสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว รวมถึงโอกาสพัฒนาทางธุรกิจต่อไป
การลงนาม MOU ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Smart Campus ของ กฟผ. และบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด บริษัทในกลุ่ม กฟผ. ที่ยกระดับการใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยด้วยนวัตกรรมพลังงานและเมืองอัจฉริยะ โดยติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ระบบแสงสว่างอัจฉริยะบนถนนภายในมหาวิทยาลัย โดยมีระบบบริหารจัดการพลังงานทำหน้าที่ควบคุมและติดตามการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ และนำรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) เข้ามาให้บริการนักศึกษาระหว่างหอพักและอาคารเรียน เริ่มดำเนินการที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัวและพื้นที่ศูนย์แม่ริม พร้อมเปิดให้บริการในช่วงกลางปี2567
Tag :
SHARE :